We treat you like our family
PDC Dental Center
Contact Us

About Us

เกี่ยวกับเรา

Our Amazing Team

ทีมทันตแพทย์เฉพาะทางของเรา

Services

บริการ

อุดฟันด้วยอมัลกัม 1 ด้าน 800 - 1,000฿
อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน 950 - 1,300฿
ชุดฟอกสีฟันที่บ้าน (Home Bleaching) 4,500฿
ฟอกสีฟันทั้งปาก (Cold Light) 9,000฿
ปิดช่องว่างระหว่างฟัน (Diastema) 1,800 - 2,500฿
ถอนฟันน้ำนม 600฿
ขัดฟันและเคลือบฟลูออไรด์ 600 - 900฿
เคลือบร่องฟันป้องกันฟันผุ (Sealant) 600฿
รักษาคลองรากฟันหน้า 7,000฿
รักษาคลองรากฟันกรามใหญ่ 12,000 - 14,000฿
ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะ 9,500฿ ขึ้นไป
ฟันเทียมทั้งปากชนิดฐานเป็นอคริลิค (Complete Denture) 25,000 - 35,000฿
ครอบฟัน (Crown)
เซรามิกกับโลหะธรรมดา (Non-Precious Metal) 10,000 - 11,000฿
เซรามิกกับโลหะผสมทอง > 2% (Palladium Base) 16,000 - 18,000฿
เซรามิกกับโลหะผสมทอง > 85% (Precious Metal) 22,000 - 25,000฿
เซรามิกทั้งชิ้น (All Ceramic) 18,000฿
เคลือบผิวฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Resin) 5,000฿
เคลือบผิวฟันด้วยวัสดุเซรามิก (Porcelain Veneer) 12,000 - 14,000฿
รากฟันเทียม Straumann 68,000฿
รากฟันเทียม Osstem 42,000 - 45,000฿
ถอนฟันธรรมดา (Extraction) 800 - 1,500฿
ผ่าฟันคุด (Impacted Tooth) 4,000 - 6,000฿
ขูดหินปูนและทำความสะอาด (Scaling & Polishing) 950 - 1,500฿
พ่นขัดคราบผิวเคลือบฟัน (Air-Flow) 500฿
การจัดฟันแบบโลหะติดแน่นด้านนอก (บน / ล่าง) 38,000฿ ขึ้นไป
เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainer) 4,500 - 6,000฿
การจัดฟันแบบ Damon 75,000 - 85,000฿
การจัดฟันแบบใสไม่เห็นเครื่องมือ Invisalign 180,000 - 200,000฿
ภาพถ่ายรังสี 1 บริเวณ (Dental Film) 200฿
ภาพถ่ายรังสี Orthopantomogram 550฿
ภาพถ่ายรังสี Lateral Cephalogram 550฿

* อัตราค่ารักษาอาจเปลี่ยนแปลงตามการใช้วัสดุหรือเครื่องมือพิเศษ

* All prices are subject to change depending on tools and materials used.

Dental Knowledge

ความรู้เกี่ยวกับทันตกรรมและวิธีการดูแลรักษาฟัน

Frequently Asked Questions

คำถามที่พบบ่อย

เรามีแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ดังนี้

  1. การนัดหมายเพื่อเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม
    • จัดที่นั่งรอให้มีระยะห่าง 1-2 เมตร
    • มีการวัดอุณหภูมิร่างกายทุกคนที่เข้ามาในคลินิก
    • มีระบบการคัดกรอง-ซักประวัติการเดินทาง การสัมผัสผู้ที่เสี่ยง และอาการต่าง ๆ ของโรค
    • จัดให้มีสถานที่ล้างมือด้วยสบู่-น้ำ และแอลกอฮอล์เจลในคลินิก
    • ผู้ที่มานั่งรอทุกท่านให้สวมมาสก์ตลอดเวลาที่อยู่ในคลินิก
    • เก็บบันทึกภาพของผู้ที่เข้ามาภายในคลินิกทุกช่วงเวลา (สามารถติดตามกลุ่มเสี่ยงได้)
  2. แนวทางการป้องกันการแพร่เชื้อในคลินิก
    • เพิ่มพัดลมระบายอากาศ
    • เพิ่มเครื่องฟอกอากาศทุกห้อง
    • ให้คนไข้ทุกท่านบ้วนปากก่อนการรักษาเพื่อลดปริมาณเชื้อที่ออกมากับละอองฝอย (ลดปริมาณเชื้อที่ออกมากับละอองฝอยในขณะให้การรักษาทางทันตกรรม 70-95%)
    • การใช้แผ่นยางกันน้ำลายในขณะกรอฟัน (ลดเชื้อที่ฟุ้งกระจายออกมากับละอองฝอยได้ 70-98%)
    • การใช้เครื่องดูดแรงดันสูง และ เครื่องดูดละอองฝอยนอกปาก (External Oral Suction) ใกล้กับจุดกำเนิดละอองฝอย (ลดปริมาณละอองฝอยได้ 90%) โดยมีใช้ทุกห้องทำฟัน
    • ทันตแพทย์/ผู้ช่วยทันตแพทย์ ให้สวมเสื้อกาวน์ มาสก์ แว่นตาป้องกัน เฟซชีลด์ ถุงมือ
    • เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้กับคนไข้แต่ละรายเป็นชนิดที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น เข็มฉีดยา กระดาษปิดหน้าอก หลอดดูดน้ำลาย ถุงมือ
    • เครื่องมือต่าง ๆ ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อหรือฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง
    • เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น เก้าอี้ทำฟัน อ่างบ้วนปาก ถาดวางเครื่องมือ ด้ามปรับไฟ พื้นห้องทำฟัน โดยทำก่อนให้การรักษาคนไข้แต่ละราย
    • ใช้ถุงพลาสติก (Plastic Wrap) คลุมพื้นผิวที่เกิดการปนเปื้อนในระหว่างการรักษาคนไข้
  3. การดูแลสิ่งแวดล้อมภายในคลินิก
    • เช็ดทำความสะอาด (ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ) พื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เคาน์เตอร์ ลูกบิดประตู ให้ทำความสะอาดทุก 30-60 นาที
    • พื้นห้อง ทำความสะอาดทุก 30-60 นาที
    • ห้องน้ำและอ่างล้างมือ เช็ดทำความสะอาดทุก 30-60 นาที

สิทธิประกันสังคมเบิกค่าทันตกรรมทุกโรงพยาบาล สามารถใช้ได้ที่ศูนย์ทันตกรรม พิดีซี โดย ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาทต่อปี และใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น

ทันตแพทย์จะตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อเฝ้าระวังโรค และจะได้ทำการรักษาหรือแก้ปัญหาได้แต่เนิ่นๆ เพราะโรคในช่องปากหลายๆ โรคไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก กว่าจะรู้ตัว ก็มักจะเป็นมากจนทำให้การรักษายุ่งยาก เจ็บตัว เสียเวลา และเสียค่ารักษามากขึ้นด้วย สำหรับบางคน ถ้าทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่ามาตรวจทุก 6 เดือน นานเกินไป ก็อาจขอ ให้มาตรวจทุก 3-4 เดือน แต่โดยเฉลี่ยมักจะแนะนำให้มาตรวจทุก 6 เดือน

บ่อยครั้งที่หลายคนคิดว่า ฟันน้ำนมไม่จำเป็นต้องดูแล ไม่มีความสำคัญ อยู่ในปากชั่วระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ความจริง ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นตั้งแต่ 6-7 เดือน ไป ถึง 2 ขวบครึ่ง คุณพ่อคุณแม่ ต้องไม่ลืมว่าฟันแท้ก็กำลังสร้างอยู่ในขากรรไกรเช่นกัน การดูแลรักษาฟันน้ำนมเป็นสิ่งจำเป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟันน้ำนมอาจจะมีผลทำให้การสร้างฟันแท้ข้างใต้ผิดปกติไป ได้แก่ฟันน้ำนมที่ผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟันและเกิดหนองปลายราก กรณีนี้อาจมีผลกระทบถึงหน่อฟันที่กำลังสร้างอยู่ข้างใต้ ทำให้ผิวเคลือบฟันแท้สร้างไม่สมบรูณ์ ฟันแท้ขึ้นไม่ถูกตำแหน่ง และอาจเกได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลรักษาฟันน้ำนมของลูกให้ดี ควรพาไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการป้องกันไม่ให้เกิดการผุ ในรายที่ผุแล้วก็ควรรีบทำการรักษาไม่ให้ลุกลามไป ซึ่งจะมีผลต่อฟันแท้ที่กำลังสร้างอยู่ข้างใต้

  • ทำความสะอาดฟันและช่องปากของลูกเป็นประจำ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลให้ลูกแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยการวางขนแปรงตั้งฉากกับตัวฟัน แล้วขยับหน้า-หลัง ให้แปรงทั้งด้านนอกและด้านในของฟันทุกซี่ และควรใช้ไหมขัดฟัน ทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน วันละ 1 ครั้ง หลังแปรงฟันก่อนนอน คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยลูกแปรงฟันส่วนที่ลูกยังแปรงไม่สะอาด

  • ดูแลให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างถูกสุขลักษณะ ควรให้ลูกกินผักและผลไม้ที่มีเส้นใย เพื่อช่วยขัดฟันตามธรรมชาติด้วย และระวังเรื่องการรับประทานขนมและน้ำหวาน ที่ทำจากแป้งและน้ำตาล โดยอาจให้กินเป็นเวลา ในมื้ออาหาร เสร็จแล้วก็อย่าลืมแปรงฟันทุกครั้งด้วย สำหรับขนมหวานที่เหนียวติดฟัน เช่น ลูกอม ช็อกโกแลต ก็ไม่ควรให้ลูกรับประทานเป็นของกินเล่น

  • ให้ลูกรับประทานฟลูออไรด์ โดยปรึกษาทันตแพทย์ว่าปริมาณที่เหมาะสมกับวัยและปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำที่ดื่มควรเป็นเท่าไร และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ เพื่อเคลือบฟลูออไรด์ทุก 6 เดือน เพราะสารฟลูออไรด์จะช่วยให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรง ป้องกันการผุด้านผิวเรียบของฟัน

  • เมื่อลูกอายุประมาณ 6 ขวบ จะมีฟันกรามแท้ขึ้น ควรพาไปให้ทันตแพทย์ทำ เคลือบหลุมร่องฟันให้ตื้นขึ้นด้วยสารคล้ายพลาสติก เพื่อช่วยป้องกันการผุของฟันด้านบดเคี้ยว เพราะฟันกรามแท้มีหลุมร่องลึก เป็นที่สะสมของคราบอาหาร ทำความสะอาดได้ยาก จึงมักผุอย่างรวดเร็ว

โดยปกติแล้วหากไม่มีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น การจัดฟันมักดำเนินไปตามแผนการรักษาที่ได้วางไว้ ระยะเวลาที่ใช้จริงจึงมักใกล้เคียงกับเวลาที่ได้ประมาณไว้ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ปกติจะอยู่ระหว่าง 24 – 36 เดือน ค่าใช้จ่ายก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการจัดฟันสำหรับคนไข้แต่ละราย ซึ่งมักขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ความซับซ้อนของปัญหาการสบฟันของแต่ละคน ซึ่งทำให้การจัดฟันมีความยากง่ายแตกต่างกัน นอกจากนี้แม้ปัญหาคล้ายคลึงกัน แต่การตอบสนองของฟันต่อเครื่องมือก็อาจแตกต่างกันในแต่ละคนด้วย
  • อายุของคนไข้ คนไข้ที่อายุน้อย กระดูกโครงสร้างฟันและขากรรไกรจะปรับตัวตามการจัดฟันได้ง่าย ทำให้ฟันขยับได้เร็วกว่าคนที่อายุมาก
  • ความร่วมมือของผู้รับการจัดฟัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะมีผลต่อความสำเร็จของการจัดฟัน
    • การรักษาความสะอาดของฟันและเครื่องมือจัดฟัน เนื่องจากฟันจะเคลื่อนตัวได้ดีในสภาพเหงือกที่สะอาดแสะสมบูรณ์
    • การรักษาเครื่องมือจัดฟันให้อยู่ในสภาพดี ไม่ให้หลุดหรือบิดเบี้ยวไปจากสภาพเดิม โดยการระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอุปนิสัยที่ไม่ดีบางประการ เช่นการดูดนิ้ว กัดเล็บ กัดปากกา และระมัดระวังในการเล่นกีฬา หรือเครื่องดนตรีชนิดเป่า
    • การมาปรับเครื่องมือสม่ำเสมอ ตามเวลานัดทุกเดือนจนกว่าจะเสร็จสิ้นการรักษา
    • การปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด เช่น การคล้องยางดึงฟัน หรือการใส่อุปกรณ์เสริมพิเศษ เป็นต้น

คนไข้อายุแค่ไหนก็สามารถทำทันตกรรมรากเทียมได้ ถ้าตราบใดที่มีกระดูกขากรรไกรพอที่จะฝังรากเทียมเข้าไป ถ้าท่านมีโรคหรือสภาวะต่อไปนี้ การทำทันตกรรมรากเทียมอาจจะไม่เหมาะกับท่าน โรคที่มีผลต่อการซ่อมแซม หรือการหายของแผล ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้, ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสงในการรักษาโรคมะเร็ง

ไม่เจ็บ ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ระหว่างการผ่าตัด ดังนั้นท่านจะไม่เจ็บระหว่างการฝังรากเทียม อาจมีเจ็บบ้างนิดหน่อยหลังการผ่าตัด ทันตแพทย์จะให้รับประทานยาแก้ปวดแก้อักเสบ โดยทั่วไปแล้ว ท่านสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติในวันรุ่งขึ้น ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลทำความสะอาดภายหลังการฝังรากเทียม

เมื่อประสาทฟันถูกกระทบกระเทือนจะเกิดการอักเสบเป็นหนอง หรือประสาทฟันตายในที่สุด ทำให้รู้สึกปวดฟันมาก การรักษาคลองรากฟันเป็นการกำจัดเนื้อเยื่อที่อักเสบหรือเป็นหนองออก ทำให้อาการเจ็บปวดหายไปแล้วยังมีฟันไว้ใช้งานตามปกติต่อไปได้ การปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นานๆ ทำให้กระดูกที่รองรับฟันอักเสบ ละลายตัวไปอาจจะไม่สามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้ เมื่อถอนฟันไปแล้วกระดูกบริเวณซี่นั้นจะยุบลงไป ทำให้ใส่ฟันเทียมได้ไม่สวยเหมือนฟันธรรมชาติ ประสิทธิภาพการเคี้ยวก็ลดน้อยลง นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการใส่ฟันอาจจะสูงกว่าการรักษารากฟัน

ฟันส่วนใหญ่ที่รักษาคลองรากฟัน มักมีรอยผุใหญ่และเหลือเนื้อฟันน้อย จึงหักได้ง่าย ดังนั้นหลังจากรักษาคลองรากฟันแล้ว ควรบูรณะให้ฟันมีความแข็งแรง ไม่ให้แตกหักได้ง่าย ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • ถ้าเหลือเนื้อฟันมากและเป็นฟันซี่ที่ไม่ได้ใช้งานมาก ให้ใช้วิธีอุดให้เต็มโพรงฟันก็แข็งแรงพอ
  • ถ้าเหลือเนื้อฟันน้อย โดยเฉพาะฟันกรามที่ต้องใช้เคี้ยวอาหารมาก ควรทำครอบฟัน
  • ถ้าเหลือเนื้อฟันน้อยมาก ต้องใช้เดือยยึดในรากฟันก่อนจึงจะทำครอบฟันได้

วัสดุอุดฟันทั้ง 2 ชนิดมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน วัสดุอุดฟันที่เป็นสีเงิน (อมัลกัม) มีข้อดีที่แข็งแรง ขั้นตอนการรักษาไม่ยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายไม่สูง ส่วนวัสดุอุดสีเหมือนฟัน (คอมโพสิต) มีข้อดีที่ความสวยงาม ความแข็งแรง ยึดติดกับเนื้อฟันด้วยพันธะเคมี ทำให้กรอเนื้อฟันน้อยกว่าการอุดด้วยอมัลกัม อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์จะพิจารณาเลือกวัสดุอุดที่เหมาะสมกับรอยผุของฟันแต่ละซี่

สามารถใส่ฟันเทียมได้ 3 วิธี คือ

  1. ทันตกรรมรากเทียม คือการใส่ฟันเทียมถาวรบนรากเทียม ซึ่งจะมีความแข็งแรง รูปร่างลักษณะ ความสวยงาม ความรู้สึก และการใช้งาน ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด
  2. สะพานฟันติดแน่น ทำโดยกรอฟันข้างเคียงที่ติดกับช่องว่างที่เกิดขึ้น แล้วทำฟันเทียมติดแน่นสวมทับเป็นฟัน 3 ซี่ ซึ่งจะให้ความแข็งแรง สวยงามได้ดี
  3. ฟันเทียมชนิดถอดได้ (ฐานพลาสติกหรือฐานโลหะ) ทำโดยต้องมีการวางตะขอกับฟันที่เหลืออยู่ เพื่อยึดฟันเทียมไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรำคาญ นอกจากนี้ความสวยงามและประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหารยังต่ำกว่าฟันธรรมชาติมาก แต่มีราคาต่ำกว่าการใส่ฟันเทียมชนิดอื่นๆ

Contact Us

ติดต่อเรา

ปรึกษาปัญหาเรื่องฟันและนัดหมายกับทันตแพทย์เฉพาะทางฟรี
Contact us for a free consultation and to make an appointment

บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เดนตัล เซ็นเตอร์ จำกัด
425 อาคารพาณิชย์ ตรงข้ามเดอะมอลล์
ถ.งามวงศ์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร : (66) 2952 7475-6, (668) 1684 9616, (668) 6327 2887
โทรสาร : (66) 2952 7476
เวลาทำการ : จ.-อา. 10.00-20.00 น.

Professional Dental Center Company Limited
425 Ngamwongwan Road,
Bangkaen, Muang District, Nonthaburi 11000
Tel : (66) 2952 7475-6, (668) 1684 9616, (668) 6327 2887
Fax : (66) 2952 7476
Office Hour : Mon.-Sun. 10.00 am.-8.00 pm.